|
|
 |
Graphics Anodized เป็นกระบวนการ Anodized แบบ Color in Surface หรือเรียกย่อๆ ว่า CIS
เป็นระบบเทคโนโลยีชั้นสูงในการชุบอะโนไดซ์อลูมิเนียม (อลูไมท์) แบบที่มีประสิทธิภาพที่สุดโดย
การนำเอาเทคโนโลยีและวิทยาการคอมพิวเตอร์มาประยุกต์ใช้ และควบคุมการชุบและการพิมพ์
งานขั้นสูงในเวลาเดียวกัน เพื่อให้สามารถกำหนดค่าสีต่างๆในรูปแบบ CMYK ลงในชิ้นงานให้เกิด
ภาพลวดลาย หรือตัวอักษรที่ฝังตัวลงในผิวอลูมิเนียม |
|
|
 |
นวัตกรรมแบบ Graphics Anodized ของ บริษัท แอล. พี. 3 อินเตอร์กรุ๊ป พัฒนาไปไกล
จนสามารถสร้างสรรค์ความโดดเด่น และสร้างความแตกต่าง อีกทั้งยังสามารถสร้างความหลาก
หลายของสีสัน รวมถึงเส้นสายและลวดลายแบบกราฟฟิกลงบนชิ้นงานอลูมิเนียมประเภทต่างๆ
ได้ทำให้สามารถพัฒนาและนำไปประยุกต์ใช้ในงานที่ต้องการความมีสไตล์ และความมีเอกลักษณ์
เฉพาะตัวควบคู่กับความคงทนถาวรสูง |
|
|
 |
ด้วยประสิทธิภาพความคงทนที่สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการนำน้ำยาล้างสุขภัณฑ์ห้องน้ำชนิดรุนแรง
มาราดหรือแช่เป็นเวลานาน ก็ไม่สามารถทำลายสีที่อยู่บนชิ้นงานระบบ CIS ได้ |
|
|
 |
ในส่วนการพิสูจน์ความคงทนโดยผ่านการใช้โซลเว้นท์ชนิดรุนแรงเช่น ทินเนอร์ โดยทำการ
แช่และจุดไฟเผาจนชิ้นงานเกิดเขม่าดำ หลังจากนั้นนำชิ้นงานมาล้างน้ำสะอาดและเช็ดอีกครั้ง
ด้วยทินเนอร์ จะพบได้ว่าชิ้นงานยังคงสภาพและสีสันสวยงามเช่นเดิม |
|
|
 |
ดังนั้นงานในระบบ CIS จึงสามารถนำไปใช้ในวงการต่างๆ ได้หลากหลายเช่นวงการอุปกรณ์สุขภัณฑ์
และห้องน้ำ, วงการถ่ายภาพ, วงการยานยนต์และอุปกรณ์อากาศยาน, วงการอิเลคทรอนิคส์และโทรคมนาคม,
วงการออกแบบตกแต่งภายในบ้าน, อาคาร, ป้ายสัญลักษณ์ที่ทนแดดและฝน, ป้ายเลขห้องอาคารชุด,
ป้ายในลิฟท์โดยสาร และอื่นๆ อีกมากมาย |
|
|
 |
ด้วยความมุ่งมั่น ผนวกกับเทคโนโลยีใหม่นี้ บริษัทมีความมั่นใจในการทำงานในระดับ OEM
และได้รับความไว้วางใจจากกลุ่มอุตสาหกรรมรถยนต์ชั้นนำ เช่น Honda,Toyota
รวมทั้งบริษัทด้านอุตสาหกรรมการบินชั้นนำผู้ผลิตชิ้นส่วนในห้องผู้โดยสารและเก้าอี้โดยสาร
ในสายการบินเช่น Weston (SEA) จากประเทศอังกฤษ |
|
|

|
นอกเหนือจากการค้นคิดนวัตกรรมใหม่ขึ้นมาใช้ในวงการชุบอะโนไดซ์อลูมิเนียมเพื่อตอบสนอง
ความต้องการของลูกค้าแล้ว ทางบริษัทยังมีวิสัยทัศน์ในการผลิตผลิตภัณฑ์ในรูปแบบดีไซน์ใหม่ๆ
ในประเภทต่างๆ ออกสู่ตลาดในอนาคตอันใกล้นี้ภายใต้ชื่อ Beyond One |
|
|
|
|
|
|
|
|
ตารางเปรียบเทียบงานชุบอะโนไดซ์แบบเดิมๆ กับงานชุบอะโนไดซ์ระบบ CIS |
งานชุบอะโนไดซ์แบบเดิม |
งานชุบระบบ CIS |
- ชุบและย้อมสีได้แต่ไม่สามารถทำได้หลากหลายสี หรือไล่เฉดสีอ่อนแก่ในชิ้นงานเดียวกัน
- ไม่ทนรังสี UVA, UVB
- ไม่ทนกรด หรือ ด่าง
- สีลอก ซีดจางง่าย
- ระบบพิมพ์เป็นการพิมพ์หลังชุบทำให้สีไม่คงทน
- ต้องมีขั้นต่ำในการพิมพ์
- มีค่าบล็อกพิมพ์
- มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลง และแก้ไขแบบพิมพ์
- มีค่าใช้จ่ายสูงและไม่เหมาะกับงานที่มีการพิมพ์แบบรันนัมเบอร์
|
- ชุบได้หลายสีสัน พร้อมไล่เฉดสีโทนอ่อนแก่ได้ในชิ้นงาน
เดียวกัน
- ทนแม้ในแดดจัด หรือใต้รังสี UVA, UVB เป็น ระยะเวลา
นับ 10 ปี
- ไม่เป็นสนิม ผ่านการทดสอบ Thermal shock และ Salt Spray
- สามารถทนด่างรุนแรง เช่น น้ำยาล้างห้องน้ำ และ สามารถทนทินเนอร์ได้
- ทนความร้อน และการเผาไหม้ได้ดี
- เป็นการชุบพร้อมพิมพ์ระบบฝังเข้าผิวทำให้คงทนถาวร
- ไม่มีค่าบล็อกพิมพ์
- สามารถทำงานเพียงชิ้นเดียวก็ได้
- ไม่มีค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงและแก้ไขแบบพิมพ์
- เหมาะกับงานที่มีการพิมพ์ แบบรันนัมเบอร์
- ทำให้ชิ้นงานมีความสวยงามคงทนเป็นการสร้างมูลค่าให้
งานเป็นงานศิลป์ที่งดงาม
- งานแบบ CIS สามารถนำกลับมา Recycle ได้จึงเป็นการลดการใช้ทรัพยากร
-
สามารถนำมาประยุกต์ใช้แทนงานสเเตนเลส
เช่นงานป้ายในลิฟต์โดยสารที่น้ำหนักเบา
สวยงามและราคาถูกกว่าสแตนเลส
|
|